วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ออมสินไม้ไผ่
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยโบราณ ปู่ย่า ตา ยาย นำไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นและมีตามธรรมชาติ มาดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องไม้เครื่องมือในแปลงเกษตร ล้วนแล้วแต่ใช้ไม้ไผ่มาประกอบเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ตัดปล้องไม้ไผ่ที่ติดข้อทั้งสองด้านนำมาเจาะรูทำเป็นกระบอกออมสินเก็บเงิน นำกระบอกไม้ไผ่มาเจาะรูนำตะเกียงเข้าไปตั้งกันลมพัดไฟตะเกียงดับ ล้วนแต่เป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า คู่ควรแก่การสืบทอดชั่วลูกหลาน
ปี 2548 นายอันันต์ สุภูตัง ชาวบ้านหนองค้า หมู่ที่ 2 ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร เป็นผู้ที่มองเห็นคุณค่าของภูมปัญญาดังกล่าว และเห็นว่าในพื้นที่หมู่บ้านหนองค้า และหมู่บ้านใกล้เคียง มีไม้ไผ่มากและไม่ค่อยมีใครนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสักเท่าไร จึงได้พยายามคิดค้น ดัดแปลง ภูมปัญญาชาวบ้านแต่โบราณให้เข้ากับยุกต์สมัย จากไม้ไผ่ธรรมดาจนกลายมาเป็นโคมไฟบ้าง กระปุกออมสินบ้าง และอีกหลาย ๆ อย่างที่ได้ทดรองทำผิดบ้างถูกบ้างจนเข้าที่เข้าทาง กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ลองนำไปจำหน่ายที่ตลาดในตัวจังหวัดสกลนคร ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของลูกค้า จึงชักชวนเพื่อบ้านมาร่วมกันทำ จึงได้กลายเป็นกลุ่ม “แปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่” มาจนถึงปัจจุบันนี้
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของ “กระปุกออมสิน” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ไผ่พื้นบ้านธรรมดา และทำให้ดูเหมือนธรรมชาติมากที่สุด และบางชิ้นงานก็ใส่ลวดลายที่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ขนาดพอเหมาะพอดี ไม่เทอะทะ เหมาะสำหรับเป็นของฝาก ของที่ระลึก เป็นผลิตภัณฑ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นอีสานได้อย่างไม่ต้องสงสัย
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ไม้ไผ่ตง
2. เครื่องกลึง
3. กระดาษทราย
4. กาวร้อน
5. ไม้อัดบาง
6. เตาอบ
ขั้นตอนการผลิต
ตัดไม้ไผ่จากสวนสมาชิก/หาซื้อในหมู่บ้านมาตัดเป็นท่อน ๆ พอประมาณ นำเข้าเตาอบใช้ความร้อนอ่อน อบไปเรื่อย ๆ ใช้เวลา ประมาณ 1 สัปดาห์ นำออกจากเตาอบปล่อยให้เย็นนำไปกลึงให้ได้ลวดลายที่ต้องการ(กลึงเป็นลายปล้องไผ่) ใช้กระดาษทรายขัดเกลาให้เรียบ ตัดหัวท้ายให้กลมกลึง ขัดให้เรียบ ใช้ไม้อัดทำที่ปิดหัวท้าย(บน-ล่าง) ด้านบนเจาะรูเล็กไว้สำหรับหยอดเงิน ด้านล่างเจาะรูกลมใหญ่ไว้สำหรับนำเงินออกแล้วปิดรูไว้ ใช้กาวร้อนทาแล้วติดกับไม้ไผ่ ทำที่จับติดไว้ด้านบน ตัดฝาบน-ล่างให้เข้ารูปกับตัวออมสินไม้ไผ่ ขัดให้เรียบ ลงยูนิเทน 3 ครั้ง คือทายูนิเทนครั้งแรกทิ้งให้แห้งแล้วทาทับ รวม 3 ครั้ง เพื่อความสวยงาม และคงทน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น